สิ่งที่ควรปฏิบัติตามสำหรับ ผู้โดยสารประเภทพิเศษ ก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน!
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจจะไม่ได้รับอนุญาตให้บินภายใน 6 สัปดาห์หลังจากหายป่วย ผู้ป่วยโรคหัวใจจะไม่ได้รับอนุญาติเช่นกันเพราะอาจหัวใจล้มเหลวได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการ chronic bronchitis emphysema bronchiectasis หรือโรคอื่นที่เกีี่่ยวกับทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะยิ่งอาการหนักเมื่อผู้ป่วยมีอาการ hypoxia ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะเดินทางได้ต่อเมื่อมีแพทย์เดินทางด้วย ผู้ป่วยต้องพกยาติดตัวเองบนเครื่องด้วย ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจจะไม่ได้รับอนุฐาตให้ขึ้นเครื่องใน ทุกกรณี การออกกำลังกายเป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการบินที่ดี ผุ้ที่เหนื่อยง่ายจะได้รับผลกระทบจากการเดินทางบนเครื่องบินและมีความเครียด มากพิเศษ
- ผู้ป่วยทางจิตอาจก่อให้เกิดปัญหาได้สองทาง (1)เป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง (2) ผู้ป่วยทางจิตที่เครียดมากอาจจะยิ่งเครียดกว่าเดิมและทำให้ขาดสติสับสนตลอด จนอาการหนักใดๆ ผู้ป่วยประเภทนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไม่ว่ากรณีใด
- ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดช่องท้องได้ 10 วันจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์เพราะอาจกระเทือนแผลได้
- ผู้ผ่าตัดหน้าอกจะต้องรออย่างน้อย 21 วันจึงจะเดินทางได้
- ผู้ป่วยจะไม่ได้รับอนุญาตให้บินเป็นระยะเวลา 7 วันหลังจากที่มีการนำอากาศเข้าร่างกายผ่านท่อ
- ผู้โดยสารที่ป่วยจากเส้นโลหิตแตก จะไม่สามารถเดินทางได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีผ้าพันแผลปิดศีรษะจะต้องมีพยาบาลคอยดูแล
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดกรามจะไม่ได้เดินทางกับเรา จนกว่าจะหายเป็นปกติดีและมีคนเดินทางที่คอยดูแลอยู่ด้วย
- ผู้ป่วยโรคอนีเมียจะทนสภาพแรงดันอากาศและฮีโมโกลบินสูงไม่ได้ ผู้ป่วยต้องมีอีโมโกลบินต่ำที่ 6.5 g/dl จึงจะเดินทางกับเราได้
- ผู้ป่วยเกี่ยวกับเลือดอาจต้องใช้บริการออกซิเจนบรรจุหลอด
- Deep Vein Thrombosis (DVT) เป็นอาการขั้นรุนแรงของเส้นเลือดอุดตัน ไม่แนะนำให้เดินทางใดๆทั้งสิ้น
- ต้องถอดเฝือกออกก่อนในระยะเวลา 48 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
- ผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง ควบคุมตัวเองไ่ม่ได้ เป็นเบาหวาน ไม่ได้รับอนุญาตให้บิน
- ผู้ป่วยริดสีดวงทวารจฃที่ได้รับการผ่าตัดจะไม่ได้รับอนุญาตให้บิน
- คนไข้โรค tracheostomy อาจได้รับอนุญาตให้บินได้หากมีคนคอยดูดแลและมีอุปกรณ์เพียงพร้อม
ผู้โดยสารประเภทพิเศษ สำหรับ สตรีมีครรภ์ (บริการพิเศษ)
สตรีมีครรภ์ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน สามารถเดินทางได้ , เมื่อจองบัตรโดยสารสำหรับสตรีมีครรภ์นั้น ผู้โดยสารจะต้องแจ้งข้อมูล เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้เจ้าหน้าที่การบินไทยทราบ เช่น กำหนดคลอด
สตรีมีครรภ์ที่ไม่อนุญาตให้เดินทาง
- สตรีที่ตั้งครรภ์เด็กแฝด
- สตรีที่ตั้งครรภ์มีประวัติเคยแท้งบุตร ฯลฯ จะต้องได้รับอนุญาตจากสูตินารีแพทย์ โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม “Medical Clearance Form (MEDA) จากสูตินารีแพทย์ และได้รับอนุญาตจากการบินไทยให้เดินทางได้ ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง
- ภาวะโลหิตจาง
- มีความผิดปกติทางระบบส่วนต่างๆของร่างกายเรื้อรัง ซึ่งต้องมีการรักษาอยู่เป็นประจำ
- มีประวัติการแท้ง
- มดลูกต่ำกว่าปกติ
- มีประวัติการตั้งครรภ์ในตำแหน่งที่ผิดปกติ
- มีประวัติหรือปัจจุบันรกในครรภ์มีภาวะไม่ปกติ
- มีความเสี่ยงในการแท้งหรือ มีการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ปัจจุบัน
- มีการปฏิสนธิของไข่เกิน 2 ตัว
- มีประวัติโลหิตเป็นพิษ, โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน
**** เหล่านี้เป็นเพียงข้อเสนอแนะ แต่ละคนพึงพิจารณาและเลือกใช้เอง ตามความเหมาะสม